นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรค ตาม พรบ.โรคติดต่อ 2558

เลือกโรค
 
กลุ่มโรคติดเชื้อที่นำโดยแมลง

โรคไข้เลือดออก (Dengue haemorrhagic fever) , 26

IDC-10 A97.0, A97.1
1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case definition for surveillance)
1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical criteria)
    แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ไข้เด็งกี ไข้เลือดออก และไข้เลือดออกช็อก ดังนี้
    1.1.1 ไข้เด็งกี (Dengue fever: DF)
        1.1.1.1 ผู้ป่วยสงสัย หมายถึง ผู้ที่มีอาการไข้อย่างเฉียบพลัน ร่วมกับมีอาการอย่างน้อย 2 อาการ ได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
                หรือกระดูก ปวดกระบอกตา หรือมีผื่น
        1.1.1.2 ผู้ป่วยเข้าข่าย หมายถึง ผู้ป่วยสงสัย ร่วมกับพบลักษณะอย่างน้อย 1 ข้อ ดังนี้
                - ผลการทดสอบทูร์นิเกต์ (tourniquet test) ให้ผลบวก (ตรวจพบจุดเลือดออกเท่ากับหรือมากกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว) โดยโอกาสที่ผล 
                  tourniquet test จะเป็นบวกขึ้นกับระยะเวลาของไข้ คือ ไข้ 1 วัน ให้ผลบวก ร้อยละ 50 ไข้ 2 วัน ให้ผลบวกร้อยละ 70 และ ไข้ > 3 วัน 
                  ให้ผลบวกร้อยละ 90
                - มีผลการตรวจเลือดทั่วไปของไข้เด็งกี คือ ผลการตรวจ Complete Blood Count (CBC) พบมีจำนวนเม็ดเลือดขาว ≤ 5,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร)
                  และพบสัดส่วน Lymphocyte สูง
                - มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ
        1.1.1.3 ผู้ป่วยยืนยัน หมายถึง ผู้ป่วยสงสัย ร่วมกับมีผลบวกทางปฏิบัติการจำเพาะข้อใดข้อหนึ่ง
    1.1.2 ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever: DHF)
        1.1.2.1 ผู้ป่วยสงสัย หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการไข้อย่างเฉียบพลัน ร่วมกับมีอาการอย่างน้อย 2 อาการได้แก่ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อหรือ
                กระดูก ปวดกระบอกตา หรือมีผื่น และร่วมกับมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อาการ ได้แก่ มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน 
                มีจ้ำเลือด อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นสีดำ เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือตับโต
        1.1.2.2 ผู้ป่วยเข้าข่าย หมายถึง ผู้ป่วยสงสัย และพบลักษณะอย่างน้อย 1 ข้อ ดังนี้ 
                - เลือดข้นขึ้น ดูจากมีการเพิ่มขึ้นของ Hct > ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ Hct เดิม (Heamoconcentration) หรือมีเกล็ดเลือด ≤ 100,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร 
                  และ มีหลักฐานการรั่วของพลาสมา เช่น มี Pleural effusion หรือ Ascites หรือมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ ≤ 3.5 กรัมเปอร์เซ็นต์ (ในผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการปกติ)
                - มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ
        1.1.2.3 ผู้ป่วยยืนยัน หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกเด็งกี ร่วมกับมีผลบวกทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ ข้อใดข้อหนึ่ง
    1.1.3 ไข้เลือดออกช็อก (Dengue shock syndrome: DSS)
        ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือมีภาวะความดันโลหิตลดต่ำลงอยู่ในภาวะช็อก หรือผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะผลต่างของ
        ความดันเลือดซิสโตลิกและความดันไดแอสโตลิก ≤ 20 มิลลิเมตรปรอท
    หมายเหตุ : ผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการแปลกออกไป (Expanded dengue syndrome: EDS) โดยกลุ่มอาการที่พบบ่อย ได้แก่ กลุ่มอาการไข้สมองอักเสบ 
              (Encephalitis/encephalopathy) หรือภาวะตับวาย เป็นต้น โดยสามารถพบลักษณะอาการดังกล่าวได้ในผู้ป่วยโรคไข้เด็งกี ไข้เลือดออก และไข้เลือดออกช็อก
1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory criteria)
    1.2.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป (Presumptive diagnosis)
        # ผลการตรวจ Complete blood count (CBC) 
            - มีจำนวนเม็ดเลือดขาว ≤ 5,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และพบสัดส่วน Lymphocyte สูง
            - มีเกล็ดเลือด ≤ 100,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
            - มีเลือดข้นขึ้น พิจารณาจากฮีมาโตคริต (Hct.) มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น > ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่าเดิม (Heamoconcentration) และ มีหลักฐาน
              การรั่วของพลาสมา เช่น มี Pleural effusion หรือ Ascites หรือมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ ≤ 3.5 กรัมเปอร์เซ็นต์ (ในผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการปกติ)
    1.2.2 การตรวจทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ (Specific diagnosis)
        # การตรวจหาเชื้อ/แอนติเจน/สารพันธุกรรมของเชื้อ (Pathogen identification)
            - วิธี Commercial test kits ตัวอย่างเช่น NS-1 antigen ให้ผลเป็นบวก (กรณี NS-1 antigen Dengue ให้ผลลบ ยังไม่สามารถตัดการวินิจฉัย
              โรคไข้เลือดออกได้ (R/O dengue))
            - วิธี Polymerase chain reaction (PCR) พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเด็งกี
            - วิธีเพาะแยกเชื้อ (Viral isolation) ตรวจพบเชื้อไวรัสเด็งกีจากเลือดในระยะไข้
        # การตรวจหาภูมิคุ้มกันของเชื้อ (Serology)
            - วิธี Hemagglutination Inhibition (HI) จากตัวอย่างซีรั่มคู่ (Paired sera) พบระดับภูมิคุ้มกัน ≥ 4 เท่า หรือถ้าซีรั่มเดี่ยว (Single serum) 
              พบระดับภูมิคุ้มกัน > 1 : 1,280
            - วิธี Enzyme Immuno Assay (EIA) ตรวจพบระดับภูมิคุ้มกันชนิด IgM ≥ 40 ยูนิต หรือการเพิ่มขึ้นของ IgG อย่างมีนัยสาคัญ กรณีตรวจ Paired sera 
              ต้องตรวจ ห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
            - ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันด้วย Commercial test kits ให้ผลบวกต่อ Dengue IgM หรือ ทั้ง Dengue IgM และ IgG
2. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค (Reporting criteria)
    2.1 ให้รายงานผู้ป่วย ในระบบเฝ้าระวังโรค (รง. 506) ดังนี้
        - ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้าข่ายไข้เด็งกีขึ้นไป รหัสโรค 66 ตามรหัส ICD-10: A97.9
        - ตั้งแต่ผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออกขึ้นไป รหัสโรค 26 ตามรหัส ICD-10: A97.0, A97.1
        - ผู้ป่วยไข้เลือดออกช็อกทุกราย รหัสโรค 27 ICD-10: A97.2
    2.2 กรณีมีการตรวจซีโรไทป์ให้รายงานผลในตัวแปร Organism type ดังนี้
        1. DENV 1
        2. DENV 2
        3. DENV 3
        4. DENV 4
        9. Unknown
    2.3 กรณีที่พบอาการแปลกออกไป (Expanded dengue syndrome: EDS) ให้รายงานผลในตัวแปร Complication type ด้วยรหัส 1
    2.4 ให้รายงานการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย และการระบาดแบบเป็นกลุ่มก้อน ในระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์(Event-based Surveillance System)
3. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Verification)
    - ผู้ป่วยรายเดียวกันที่ถูกรายงานภายใน 1 ปี ถือว่าเป็นการรายงานซ้ำซ้อน
    - ต้องตรวจสอบ (Verify) ข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับรายงานว่าสงสัยติดเชื้อเด็งกีและเสียชีวิต
4. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)
4.1 การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย (Individual investigation)
    4.1.1 ผู้ป่วยรายแรก (Index case) ของพื้นที่ (ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นอย่างน้อย) ได้แก่
        4.1.1.1 ไข้เด็งกี ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้าข่ายรายแรกของพื้นที่ หรือ
        4.1.1.2 ไข้เลือดออก ตั้งแต่ผู้ป่วยสงสัยรายแรกของพื้นที่ หรือ
        4.1.1.3 ไข้เลือดออกช็อก รายแรกของพื้นที่
    4.1.2 ผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตทุกราย
    4.1.3 ผู้ป่วยสงสัยทุกรายที่มีอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) สมองอักเสบ เป็นต้น
4.2 การสอบสวนการระบาด (Outbreak investigation)
    กรณีพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ในหมู่บ้าน/หรือชุมชนเดียวกันที่มีความสัมพันธ์ทางระบาดวิทยา ในช่วงเวลา 28 วัน หรือมีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี
    ในช่วงเวลาเดียวกัน ให้รีบทำการสอบสวนการระบาดทันที เพื่อหาเชื้อก่อโรค และสาเหตุของการระบาด โดยให้ดำเนินการตามเงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการ
    สอบสวนโรค (Joint investigation team: JIT)
5. หมายเหตุ (Remarks)
    - ระยะฟักตัว 3-14 วัน โดยทั่วไปจะประมาณ 5-8 วัน
    - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ทั่วไป และจำเพาะ) ต้องใช้ทั้งร่วมกับ เกณฑ์ทางคลินิกอย่างเคร่งครัด ตามคำนิยามที่กำหนด
7. เงื่อนไขการออกสอบสวนโรคของทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (JIT)
อำเภอ จังหวัด เขต ส่วนกลาง
- ผู้ป่วยเข้าข่ายไข้เด็งกี่/ สงสัยไข้เลือดออกรายแรก (Index case) ของชุมชน (เช่น หมู่บ้านหรือพื้นที่ซอย) นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วย รายสุดท้าย 28 วัน
- ผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตทุกราย
- มีการระบาดในชุมชน (จํานวนผู้ป่วยมากกว่าค่า มัธยฐาน 5 ปี หรือเป็นกลุ่ม ก้อน 2 รายขึ้นไปที่มีความ สัมพันธ์ทางระบาดวิทยา
- *กรณีพื้นที่เขตเมือง ได้แก่ กทม/พัทยา/เทศบาลนคร/ เทศบาลเมือง ชุมชน = 100 เมตร
- ผู้ป่วยสงสัยทุกรายที่มี อาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) สมองอักเสบ เป็นต้น
- ตั้งแต่พบผู้ป่วยเข้าข่ายไข้เด็งกี่/ สงสัยไข้เลือดออกต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในตําบล เดียวกัน
- *กรณีพื้นที่เขตเมือง ได้แก่ กทม/พัทยา/เทศบาลนคร/ เทศบาลเมือง นับเป็นหมู่บ้าน
- กรณีผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก เสียชีวิตทุกราย
- ผู้ป่วยสงสัยทุกรายที่มีอาการ รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ อักเสบ (Myocarditis) สมองอักเสบ เป็นต้น
- ตั้งแต่พบผู้ป่วยเข้าข่าย ไข้เด็งกี่/สงสัยไข้เลือดออก ต่อเนื่อง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในตําบลเดียวกัน
- *กรณีพื้นที่เขตเมือง ได้แก่ กทม/พัทยา/เทศบาลนคร/ เทศบาลเมือง นับเป็นหมู่บ้าน
- ผู้ป่วยสงสัยทุกราย ที่มีอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) สมองอักเสบ เป็นต้น
- ผู้ป่วยสงสัยเป็นกลุ่มก้อน ที่มีอาการรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) สมองอักเสบ เป็นต้น
    กำหนดระยะเวลาลงสอบสวนโรค : สอบสวนภายใน 24 ชั่วโมง หลังรับแจ้ง

8. แบบสอบสวนโรคเฉพาะราย   โรคไข้เลือดออก (Download)
กำลังประมวลผล

รอสักครู่